ด้วยอากาศที่ร้อนจัดทำให้ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมใด ๆ ทั้งในร่มหรือว่ากลางแดด ก็มักจะเกิดเหงื่อ แม้กระทั่งนั่นเฉย ๆ ก็ยังมีเหงื่อเกิดขึ้นได้ 

และเมื่อมีเหงื่อออกแล้วคุณนั้นเกิดอาการคันแสบๆ หรือมีอาการคันยิกๆ ตรงบริเวณที่มีเหงื่อออกตามร่างกายเวลาที่เราไปเจอแดดที่ร้อนมากๆ 

วันนี้เรามีวิธีการสังเกตอาการว่าเรานั้นกำลังเป็นโรคแพ้เหงื่อตัวเองหรือไม่มาฝากกันค่ะ จะเป็นอย่างไรนั้นติดตามได้จากบทความนี้เลยค่ะ

คือ โรคภูมิแพ้หรือโรคแพ้ชนิดหนึ่ง โดยอาการแพ้มักจะแสดงออกมาในรูปผื่นคัน แต่โรคแพ้เหงื่อตัวเองไม่ได้เกิดจากการที่เหงื่อเป็นพิษ เพราะบางกรณีเกิดจากผิวหนังของเราที่อาจจะเป็นโรคอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเกลื้อน โรคผิวหนังอักเสบ หรือโรคผิวหนังชนิดอื่น ๆ อาการแพ้มักจะแสดงออกมาในรูปผื่นคัน หรืออาการแดงที่ผิวหนัง เป็นต้น

          สาเหตุของอาการแพ้เหงื่อต้องดูให้ลึก บางคนมีเหงื่อออกแล้วเกิดอาการคัน ทว่าไม่รู้ตัวว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้เหงื่อได้ก็มีดังนี้

  1. โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ ซึ่งอาจทำให้มีรอยโรคอยู่บนผิวหนัง พร้อมจะก่อปฏิกิริยาบางอย่างกับเหงื่อได้ทันที
  2. การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย การอยู่ในที่ที่มีละอองฝุ่นเยอะ มีเชื้อโรค เชื้อรา หรือแบคทีเรียเยอะ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายขึ้น
  3. ผิวบอบบาง ง่ายต่อการแพ้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก
  4. ปฏิกิริยาต้านเหงื่อของร่างกายเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากจนเกินไป ทำให้มีความไวต่อเหงื่อมากเป็นพิเศษ

   โดยมากอาการแพ้เหงื่อจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น ข้อพับ ขาหนีบ ลำคอ รอบดวงตา และบริเวณใบหน้า เป็นต้นอาการผิดปกติทางผิวหนังชัด ๆ

* มักจะมีอาการคันมากยามเหงื่อออก โดยเฉพาะจุดที่มีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ เช่น ลำคอ ใบหน้า ขาหนีบ แขน ขา ข้อพับ

* เหงื่อออกทีไรมักจะตามมาด้วยผื่นแดงหรือตุ่มใสเป็นประจำ ไม่วาจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดแค่ไหนก็ตาม

* ตุ่มคันหรือผื่นแพ้ที่เกิดบนผิวหนังจะอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง และสามารถหายไปเองได้ แต่หากเหงื่อออกอีกครั้ง อาการคันก็จะกลับมา

  1. อาบน้ำ ล้างคราบเหงื่อ ชำระล้างคราบเหงื่อ อาบน้ำ หรือพยายามไม่ให้เหงื่อแห้งติดอยู่บนผิวหนังนานเกินไป ซึ่งก็จะช่วยลดอาการคันลงได้พอสมควร
  2. รักษาด้วยสารต้านฮิสตามีนสำหรับคนที่มีอาการแพ้มาก ๆ แพทย์อาจฉีดสารต้านฮีสตามีนให้ หรือให้ยาจำพวกนี้ไปรับประทานเมื่อมีอาการแพ้
  3. การป้องกันอาการแพ้เหงื่อทำได้โดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออก หรือหากมีเหงื่อออกก็ควรทำความสะอาดร่างกายโดยทันที   

อาการแพ้เหงื่อแม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ต้นตอและสาเหตุของโรคสามารถแตกแขนงออกได้ ฉะนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับผิวหนัง โดยเฉพาะเวลาที่เหงื่อออก ทางที่ดีควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาอย่างละเอียดดีกว่าว่าเราแค่แพ้เหงื่อธรรมดา หรือมีรอยโรคผิวหนังอื่น ๆ แอบซ่อนอยู่ด้วย   

#อาการเเพ้เหงื่อ #รักสุขภาพ #โรคเเพ้เหงื่อ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *